ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุที่เหมาะกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และเริ่มใช้อย่างแพร่หลายในบ้านสมัยใหม่ หรือที่เราชอบเรียกกันว่า แผ่นกันความร้อน แต่รู้ไหมว่าทุกชนิด มี ข้อดี-ข้อเสีย วันนี้เราจะมาบอกแล้วสรุปว่าแต่ละประเภทของฉนวนกันความร้อน ควรใช้แบบไหน แล้วเราจำเป็นต้องติดตั้งไหม
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass Insulation)
คุณสมบัติ: ทำจากเส้นใยแก้วขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติไม่ติดไฟ
ข้อดี: ฉนวนใยแก้ว
- กันความร้อนและลดเสียงได้ดี
- ติดตั้งง่ายเหมือนกับฉนวนใยหิน
- ไม่ติดไฟ
ข้อเสีย: ฉนวนใยแก้ว
- อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนังหรือระบบทางเดินหายใจ หากสัมผัสโดยตรง
- ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันขณะติดตั้งและช่างผู้เชี่ยวชาญ
วิธีใช้งาน
วางในโครงสร้างผนัง หลังคา หรือเพดาน ใช้ร่วมกับแผ่นพลาสติกเพื่อเพิ่มการกันความชื้น
ฉนวนกันความร้อนโฟม (Foam Insulation)
ชนิดของฉนวนกันความร้อน มี 2 ชนิดคือ โฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane) และ โฟมโพลีสไตรีน (Polystyrene : EPS/XPS)
คุณสมบัติ: มีน้ำหนักเบาและค่าการป้องกันความร้อนสูงในบางประเภท
ข้อดี: ฉนวนโฟม
- กันความร้อนและความชื้นได้ดี
- ติดตั้งง่าย และมีความทนทาน
- โฟม XPS มีความหนาแน่นสูงกว่าจึงรับน้ำหนักได้ดี
- มีชนิดที่กันไฟและไม่กันไฟ
ข้อเสีย: ฉนวนโฟม
- โฟมบางประเภทอาจติดไฟได้
- บางประเภทไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความร้อนสูงมาก
วิธีใช้งาน
ใช้ปูพื้นในบางพื้นที่ ติดตั้งในโครงผนัง หรือใต้หลังคาสามารถตัดโฟมให้พอดีกับพื้นที่ที่ต้องการได้
ฉนวนกันความร้อนใยหิน (Rockwool Insulation)
คุณสมบัติ: ทำจากเส้นใยหินบะซอลต์ ทนความร้อนสูง และไม่ติดไฟ
ข้อดี: ฉนวนใยหิน
- ทนต่อไฟ และลดเสียงได้ดีเยี่ยม
- เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการความปลอดภัยจากไฟ
- มีขายตามท้องตลาดเยอะ ช่างติดตั้งได้ง่าย
ข้อเสีย: ฉนวนใยหิน
- น้ำหนักมากกว่าฉนวนใยแก้ว
- กักเก็บความชื้นได้ง่าย
วิธีใช้งาน
ติดตั้งในผนัง เพดาน หรือหลังคา โดยเฉพาะอาคารที่ต้องการลดเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับโรงงาน หรืออาคารพาณิชย์
ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil Insulation)
คุณสมบัติ: สะท้อนรังสีความร้อน น้ำหนักเบา และบาง
ข้อดี: ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์
- ติดตั้งง่าย และราคาถูก
- ทนทานต่อความชื้นและไม่ขึ้นรา
- ใช้ได้ทั้งในบ้านและอาคารโรงงาน
ข้อเสีย: ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์
- กันความร้อนได้เฉพาะรังสี (Radiant Heat) แต่ไม่กันความร้อนจากการนำหรือพา
- ไม่ป้องกันเสียงรบกวน
วิธีใช้งาน
ปูใต้แผ่นหลังคาเพื่อสะท้อนความร้อนใช้ร่วมกับฉนวนประเภทอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ (Cellulose Insulation)
คุณสมบัติ: ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลที่ผ่านการบดย่อย ผสมสารกันไฟ
ข้อดี: ฉนวนเยื่อกระดาษ
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- กันความร้อนได้ดีและลดเสียงรบกวน
- ใช้ได้ในพื้นที่ซับซ้อน เช่น ฝ้าเพดาน
ข้อเสีย: ฉนวนเยื่อกระดาษ
- อาจเสื่อมประสิทธิภาพได้ง่ายเมื่อโดนน้ำหรือความชื้น
- ติดตั้งยากกว่าเมื่อเทียบกับฉนวนแบบอื่นๆ
วิธีใช้งาน
ฉีดพ่นหรืออัดเข้าในช่องว่างของผนัง ฝ้าเพดาน หรือพื้นบ้าน ถ้าชนิดเป็นแผ่นสามารถตัดให้เข้ารูปตามมุมของ
ฉนวนกันความร้อนชนิดพ่นโฟม (Spray Foam Insulation)
คุณสมบัติ: ฉนวนกันความร้อน ชนิดพ่นโฟม เมื่อพ่นเสร็จจะมีการขยายตัวเพื่อปิดช่องว่างต่างๆ
ข้อดี: ฉนวนพ่นโฟม
- กันความร้อนได้ดีมาก และป้องกันการรั่วของอากาศ
- ใช้ได้กับพื้นที่เข้าถึงยาก เช่น ซอกเล็ก ๆ
ข้อเสีย: ฉนวนพ่นโฟม
- ราคาสูง
- ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง
- ติดไฟค่อนข้างง่าย
วิธีใช้งาน
พ่นโฟมลงในพื้นที่ที่ต้องการ เช่น ช่องว่างในผนัง หลังคา หรือบริเวณขอบหน้าต่าง
วัสดุกันความร้อน ไม่ได้มีแค่ฉนวนกันความร้อน
ใครๆก็อยากให้บ้านเย็นใช่ไหมล่ะครับ นวัฒตกรรมสมัยนี้ไม่ได้มีแค่ฉนวนกันความร้อน หรือ ฟอยล์ หุ้มหลังคา แต่มีวัสดุอื่นๆอีกที่ทำให้บ้านของเรา หมดปัญหาเรื่องความร้อนไปอีกนานเลย วันนี้เรา รวมวัสดุกันความร้อน ที่ทำให้บ้านเย็นสบายมาแล้วครับ
สรุปการเลือกใช้งาน ฉนวนกันความร้อน
การเลือกใช้ชนิดของ ฉนวนกันความร้อน หรือ แผ่นกันความร้อน ควรพิจารณาจากจุดประสงค์และความเหมาะสมในการใช้งาน ว่าบ้านหรืออาคารที่เราอยู่เหมาะกับฉนวนประเภทใด ฉนวนกันความร้อนที่หาได้ง่ายที่สุดในไทยมักจะเป็น ฉนวนใยหิน อลูมิเนียม ใยแก้ว ถ้าที่พักอาศัยไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน และ เสียงรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฉนวนตามที่กล่าวมานี้ก็ได้
**ฉนวนทุกชนิดควรเลือกซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐานรองรับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน