ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุที่เหมาะกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก และเริ่มใช้อย่างแพร่หลายในบ้านสมัยใหม่ หรือที่เราชอบเรียกกันว่า แผ่นกันความร้อน แต่รู้ไหมว่าทุกชนิด มี ข้อดี-ข้อเสีย วันนี้เราจะมาบอกแล้วสรุปว่าแต่ละประเภทของฉนวนกันความร้อน ควรใช้แบบไหน แล้วเราจำเป็นต้องติดตั้งไหม
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass Insulation)
คุณสมบัติ: ทำจากเส้นใยแก้วขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และมีคุณสมบัติไม่ติดไฟ
ข้อดี: ฉนวนใยแก้ว
- กันความร้อนและลดเสียงได้ดี
- ติดตั้งง่ายเหมือนกับฉนวนใยหิน
- ไม่ติดไฟ
ข้อเสีย: ฉนวนใยแก้ว
- อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนังหรือระบบทางเดินหายใจ หากสัมผัสโดยตรง
- ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันขณะติดตั้งและช่างผู้เชี่ยวชาญ
วิธีใช้งาน
วางในโครงสร้างผนัง หลังคา หรือเพดาน ใช้ร่วมกับแผ่นพลาสติกเพื่อเพิ่มการกันความชื้น
ฉนวนกันความร้อนโฟม (Foam Insulation)
ชนิดของฉนวนกันความร้อน มี 2 ชนิดคือ โฟมโพลียูรีเทน (Polyurethane) และ โฟมโพลีสไตรีน (Polystyrene : EPS/XPS)
คุณสมบัติ: มีน้ำหนักเบาและค่าการป้องกันความร้อนสูงในบางประเภท
ข้อดี: ฉนวนโฟม
- กันความร้อนและความชื้นได้ดี
- ติดตั้งง่าย และมีความทนทาน
- โฟม XPS มีความหนาแน่นสูงกว่าจึงรับน้ำหนักได้ดี
- มีชนิดที่กันไฟและไม่กันไฟ
ข้อเสีย: ฉนวนโฟม
- โฟมบางประเภทอาจติดไฟได้
- บางประเภทไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีความร้อนสูงมาก
วิธีใช้งาน
ใช้ปูพื้นในบางพื้นที่ ติดตั้งในโครงผนัง หรือใต้หลังคาสามารถตัดโฟมให้พอดีกับพื้นที่ที่ต้องการได้
ฉนวนกันความร้อนใยหิน (Rockwool Insulation)
คุณสมบัติ: ทำจากเส้นใยหินบะซอลต์ ทนความร้อนสูง และไม่ติดไฟ
ข้อดี: ฉนวนใยหิน
- ทนต่อไฟ และลดเสียงได้ดีเยี่ยม
- เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการความปลอดภัยจากไฟ
- มีขายตามท้องตลาดเยอะ ช่างติดตั้งได้ง่าย
ข้อเสีย: ฉนวนใยหิน
- น้ำหนักมากกว่าฉนวนใยแก้ว
- กักเก็บความชื้นได้ง่าย
วิธีใช้งาน
ติดตั้งในผนัง เพดาน หรือหลังคา โดยเฉพาะอาคารที่ต้องการลดเสียงรบกวน และเหมาะสำหรับโรงงาน หรืออาคารพาณิชย์
ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil Insulation)
คุณสมบัติ: สะท้อนรังสีความร้อน น้ำหนักเบา และบาง
ข้อดี: ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์
- ติดตั้งง่าย และราคาถูก
- ทนทานต่อความชื้นและไม่ขึ้นรา
- ใช้ได้ทั้งในบ้านและอาคารโรงงาน
ข้อเสีย: ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์
- กันความร้อนได้เฉพาะรังสี (Radiant Heat) แต่ไม่กันความร้อนจากการนำหรือพา
- ไม่ป้องกันเสียงรบกวน
วิธีใช้งาน
ปูใต้แผ่นหลังคาเพื่อสะท้อนความร้อนใช้ร่วมกับฉนวนประเภทอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
ฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ (Cellulose Insulation)
คุณสมบัติ: ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลที่ผ่านการบดย่อย ผสมสารกันไฟ
ข้อดี: ฉนวนเยื่อกระดาษ
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- กันความร้อนได้ดีและลดเสียงรบกวน
- ใช้ได้ในพื้นที่ซับซ้อน เช่น ฝ้าเพดาน
ข้อเสีย: ฉนวนเยื่อกระดาษ
- อาจเสื่อมประสิทธิภาพได้ง่ายเมื่อโดนน้ำหรือความชื้น
- ติดตั้งยากกว่าเมื่อเทียบกับฉนวนแบบอื่นๆ
วิธีใช้งาน
ฉีดพ่นหรืออัดเข้าในช่องว่างของผนัง ฝ้าเพดาน หรือพื้นบ้าน ถ้าชนิดเป็นแผ่นสามารถตัดให้เข้ารูปตามมุมของ
ฉนวนกันความร้อนชนิดพ่นโฟม (Spray Foam Insulation)
คุณสมบัติ: ฉนวนกันความร้อน ชนิดพ่นโฟม เมื่อพ่นเสร็จจะมีการขยายตัวเพื่อปิดช่องว่างต่างๆ
ข้อดี: ฉนวนพ่นโฟม
- กันความร้อนได้ดีมาก และป้องกันการรั่วของอากาศ
- ใช้ได้กับพื้นที่เข้าถึงยาก เช่น ซอกเล็ก ๆ
ข้อเสีย: ฉนวนพ่นโฟม
- ราคาสูง
- ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้ง
- ติดไฟค่อนข้างง่าย
วิธีใช้งาน
พ่นโฟมลงในพื้นที่ที่ต้องการ เช่น ช่องว่างในผนัง หลังคา หรือบริเวณขอบหน้าต่าง
สรุปการเลือกใช้งาน ฉนวนกันความร้อน
การเลือกใช้ชนิดของ ฉนวนกันความร้อน หรือ แผ่นกันความร้อน ควรพิจารณาจากจุดประสงค์และความเหมาะสมในการใช้งาน ว่าบ้านหรืออาคารที่เราอยู่เหมาะกับฉนวนประเภทใด ฉนวนกันความร้อนที่หาได้ง่ายที่สุดในไทยมักจะเป็น ฉนวนใยหิน อลูมิเนียม ใยแก้ว ถ้าที่พักอาศัยไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน และ เสียงรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฉนวนตามที่กล่าวมานี้ก็ได้
**ฉนวนทุกชนิดควรเลือกซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐานรองรับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน