ข้อดี-ข้อเสีย ของ อิฐมวลเบา VS อิฐแดง

กำลังสร้างบ้านแต่สงสัยว่าอิฐมวลเบาและอิฐแดงต่างกันยังไง เป็นอีกคำถามที่หลายคนสงสัยกันมากที่สุด
บทความนี้เราจะมาบอกคุณสมบัติของอิฐที่ผู้รับเหมาใช้กันมากที่สุด

อิฐมวลเบาเหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง?

อิฐมวลเบา เหมาะกับการใช้งานโซนที่ไม่ได้รับความชื้นโดยตรงเช่น ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องรับแขก และวิธีก่อฉาบจำเป็นต้องใช้วัสดุเฉพาะเกี่ยวกับอิฐมวลเมาเท่านั้นเช่น พุกที่ใช้ในการยึดหรือเจาะ ปูนสำหรับก่ออิฐมวลเบา เป็นต้น

ข้อดีของ อิฐมวลเบา

  • มีน้ำหนักเบากว่าชนิดอื่นๆ ประหยัดระยะเวลาในการก่อสร้าง

  • สามารถกันไฟได้นานถึง 4 ชั่วโมง

  • เก็บเสียงได้มากถึง 35-38 เดซิเบล (น้อยกว่าอิฐมอญ 5-8 เดซิเบล)

  • ระบายความร้อนได้ดี เพราะตัวอิฐมวลเบา มีโครงสร้างที่เป็นรูอากาศจำนวนมาก

ข้อเสียของ อิฐมวลเบา

  • ไม่เหมาะกับการสร้างบริเวณที่มีความชื้นสูงเช่น ห้องน้ำ หรือจุดที่โดนความชื้นหรือน้ำบ่อยๆ เพราะโครงสร้างที่เป็นรูอากาศจึงทำให้ไม่ทนความชื้นมากนัก

  • ราคาอิฐชนิดนี้สูงกว่าชนิดอื่นๆมาก

  • ใช้ช่างที่ชำนาญและวัสดุที่ใช้สำหรับอิฐมวลเบาเท่านั้น

อิฐแดง หรือ อิฐมอญ เหมาะกับการใช้งานแบบไหนบ้าง?

อิฐแดง/มอญ อิฐชนิดนี้ข้อได้เปรียบคือเหมาะกับงานก่อสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร บ้านที่พักอาศัย และยังสามารถทำอิฐก่อโชว์ได้เนื่องจากมีสีและผิวสัมผัสที่แตกต่าง และยังรองรับความชื้นได้ดีกว่าอิฐมวลเบา และเหมาะกับบ้านที่มีความสูงไม่เกิน 2 ชั้น

ข้อดีของ อิฐมอญ

  • มีมวลที่หนาแน่นกว่า ทนต่อสภาพอากาศเป็นอย่างมาก

  • เก็บเสียงได้มากถึง 40-45 เดซิเบล

  • ราคาถูกกว่าอิฐชนิดอื่นๆ

  • ช่างทั่วไปสามารถก่ออิฐได้ เพราะมีความชำนาญและคุ้นเคยมากกว่า

  • รับน้ำหนักได้ 30-35 กิโลกรัม/ต่อตารางเซนติเมตร หากติดตั้งอย่างถูกวิธี

ข้อเสียของ อิฐมอญ

  • มีขนาดเล็กทำให้ใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างนาน

  • ระหว่างขนส่ง อาจทำให้แตกหักง่าย

  • สะสมความร้อนเพราะมีมวลที่หนาแน่นสูง

สรุปข้อดี-ข้อเสีย ของอิฐมวลเบาและอิฐมอญ

อิฐแต่ละชนิดมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน ถ้าฝั่งไหนโดนแดด ผมแนะนำว่าให้ใช้อิฐมวลเบาหรือเบิ้ลผนังเป็นสองชั้น การป้องกันเสียงจะขึ้นอยู่กับขนาดของอิฐและการก่อฉาบด้วย ซึ่งบ้านสมัยนี้ มักใช้อิฐ 2 ประเภทนี้ผสมกันอยู่แล้ว แต่ถ้าปัญหาของลูกค้าคือความร้อนและเสียงด้วย ควรใช้ ฉนวนกันความร้อน ใส่เข้าไปด้วย

วิธีดูวัสดุเหล็ก ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ (ฉบับเข้าใจง่าย)

กระทู้นี้จะมาสอนวิธีดูวัสดุโครงสร้างฉบับเข้าใจง่ายและมักจะเป็นส่วนที่ผู้รับเหมาก่อสร้างบางรายโกงในส่วนนี้มากที่สุด เพราะว่าเหล็กเกรด A (มอก.) และ เหล็กเกรด B ที่ผู้รับเหมามักแอบใช้จะมีราคาที่ค่อนข้างแตกต่างชัดเจน ผู้รับเหมาส่วนใหญ่จึงเซฟคอสเพื่อเอากำไรเพิ่มในส่วนนี้โดยไม่แจ้งเจ้าของบ้านให้ทราบและคนที่ไม่มีความรู้อย่างเรา ยังดูแทบไม่ออก

เหล็กข้ออ้อย เหล็กกล่อง จุดสังเกตของเหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก.

ในการตรวจสอบว่า เหล็กข้ออ้อย เหล็กเส้น และ เหล็กกล่อง ได้มาตรฐาน TIS หรือ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) หรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากลักษณะและข้อมูลที่กำกับบนเหล็กดังนี้

เหล็กแต่ละชนิดจะมีเลข มอก. ที่แตกต่างกันดังนี้

  • เหล็กเส้นกลม มอก. 20-2559

  • เหล็กข้ออ้อย มอก. 24-2559

  • เหล็กกล่อง มอก. 107-2533 (สำหรับเหล็กกล่องสี่เหลี่ยม)

  • มอก. 1228-2549 (สำหรับเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมแบน)

ตราสัญลักษณ์ มอก. บนเหล็ก (โดยจะมีตราประทับเป็นผิวนูนบนเหล็ก)

  • เหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. จะต้องมีตราสัญลักษณ์ มอก. กำกับอย่างชัดเจนบนตัวเหล็กด้านใดด้านหนึ่ง

  • เลขมาตรฐาน มอก. จะระบุอยู่ในรูปแบบเช่น “มอก. 20-2559” ซึ่งหมายถึงประเภทและปีที่มาตรฐานนั้นได้รับการอัปเดต เช่น

รหัสการผลิตและข้อมูลจากโรงงานบนตัวเหล็ก

  • เหล็กที่ได้มาตรฐานจะต้องมีรหัสการผลิตหรือชื่อโรงงานกำกับไว้เพื่อยืนยันแหล่งผลิตที่ได้รับการรับรองจากสมอ.
    (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

  • โรงงานที่ได้รับอนุญาตมักจะระบุรายละเอียดเช่น วันเดือนปีที่ผลิต ขนาดของเหล็ก เช่น SD40 หรือ SD50 สำหรับเหล็กเส้น

น้ำหนักและขนาดของเหล็ก

  • เหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. จะมีขนาดและน้ำหนักตรงตามที่กำหนด เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง ความหนา หรือความยาวของเหล็ก โดยควรมีน้ำหนักตามสเปกมาตรฐานที่ มอก. กำหนด เช่น เหล็กเส้นขนาด 10 มม. ควรมีน้ำหนักประมาณ 0.62 กิโลกรัมต่อเมตร

การตรวจสอบทั้งหมดนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้รับเหมามีความเป็นมืออาชีพ และเหล็กที่ใช้มีมาตรฐานและคุณภาพเหมาะสมสำหรับการก่อสร้าง

เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานหรือ เหล็กเกรดB ต่างกับเหล็ก มอก. อย่างไร

คุณภาพและมาตรฐานการผลิต

  • ทำให้คุณภาพไม่สม่ำเสมอเหมือนเหล็ก มอก. เช่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอาจไม่ได้มาตรฐาน ความแข็งแรงต่ำกว่ากำหนด หรือมีรอยสนิมและน้ำหนักที่ไม่ผ่านผ่านเกณฑ์ จึงไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความทนทานสูง

ความแข็งแรงและความปลอดภัย

  • มีความแข็งแรงและความทนทานต่ำกว่า จึงมักใช้ในงานรองหรืองานที่ไม่รับน้ำหนักมาก เช่น งานตกแต่งเล็ก ๆ หรืองานที่ไม่ต้องรับแรงโครงสร้างโดยตรง

ราคา

  • ราคาถูกกว่า เนื่องจากกระบวนการผลิตไม่เข้มงวดหรือไม่ผ่านเกณฑ์ของโรงงาน เท่าเหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก.

สรุปวิธีดูคุณภาพของเหล็ก

เหล็กเกรด B ก็ยังสามารถใช้งานได้แต่ไม่เหมาะกับงานที่มีโครงสร้างที่ใหญ่และความแข็งแรงมากนัก ยกเว้นเจ้าของบ้านจะประหยัดเงิน แต่ก็ต้องอยู่ในความดูแลของวิศวกรเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและการรับน้ำหนักของตัวบ้านอีกที 

ใครที่สร้างบ้านกับ Panlerd Construction มั่นใจและตรวจสอบได้เลยว่า เหล็กทุกเส้นที่ใช้ต้องผ่าน มอก. เท่านั้น
เพื่อให้ลูกค้าสบายใจว่า บ้านจะได้โครงสร้างที่มีความปลอดภัยแข็งแรงและได้มาตรฐาน ถ้ามือใหม่อยากสร้างบ้านแต่กลัวโดนผู้รับเหมาเอาเปรียบให้ตามไปอ่านได้ที่นี่เลย วิธีเตรียมตัวก่อน สร้างบ้าน