บ้านร้อนจนอยู่ไม่ได้? รวมวัสดุช่วยลดความร้อน ให้บ้านเย็นสบายได้จริง!

ยิ่งเข้าเดือนเมษายน เจอประจำใช่ไหมครับ กลับบ้านมาทีไรแทนที่จะได้พักผ่อนสบายๆ แต่กลับต้องมาเจอบ้านร้อนอบอ้าวเหมือนเตาอบ พอจะเปิดแอร์ทั้งวัน ค่าไฟก็พุ่งปรี๊ดจนอยากจะร้องไห้ แต่รู้ไหมว่าปัญหาบ้านร้อนแก้ได้ตั้งแต่แรกที่คุณวางแผนสร้างบ้านเลยล่ะครับ วันนี้ผมรวมวัสดุช่วยลดความร้อนในบ้านแบบได้ผลจริงมาให้แล้ว รับรองเลือกถูกทีเดียว บ้านเย็นสบายแถมช่วยเซฟค่าไฟได้ทุกเดือนแน่นอน!

หลังคาเมทัลชีทบุฉนวน PU Foam

หลังคาคือด่านแรกที่ต้องรับมือกับแสงแดดโดยตรง การเลือกหลังคาเมทัลชีทบุฉนวน PU Foam เป็นตัวเลือกที่ดีมาก เพราะมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนและป้องกันความร้อนได้ดีเยี่ยม ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้อย่างเห็นผลทันที

กระจกสะท้อนความร้อน (Low-E)

กระจกหน้าต่างเป็นจุดที่ทำให้บ้านร้อนมากที่สุดจุดหนึ่ง เพราะรับแสงแดดเต็มๆ หากเลือกใช้กระจก Low-E จะช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกจากบ้านได้ดี ลดอุณหภูมิได้แบบเห็นผลทันที ประหยัดค่าแอร์ได้อีกเพียบ!

อิฐมวลเบา

อิฐมวลเบาได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีคุณสมบัติเด่นคือช่วยกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐทั่วไป ด้วยคุณสมบัติที่มีฟองอากาศภายใน ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนเข้าบ้านได้ดี บ้านเย็นขึ้นแบบไม่ต้องพึ่งแอร์มากนักเลยล่ะครับ ยิ่งบ้านที่สร้างใหม่ส่วนใหญ่มักก่อผนังเป็น 2 ชั้น และใส่ฉนวนกันความร้อน บอกเลยว่าจบปัญหาความร้อนภายในห้องครับ

สีทาบ้านสะท้อนความร้อน

อีกวิธีที่ง่ายและประหยัดคือ การเลือกใช้สีสะท้อนความร้อน (Cool Paint) สีประเภทนี้จะสะท้อนความร้อนจากแสงแดดได้ดีมาก เหมาะกับบ้านในประเทศไทยสุดๆ แถมยังช่วยยืดอายุวัสดุผนังบ้านให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้นอีกด้วยครับ

ฝ้าเพดานพร้อมฉนวนกันความร้อน

ติดตั้งฝ้าเพดานที่บุฉนวนกันความร้อนเข้าไปด้วย จะช่วยป้องกันความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาลงมาได้ดี ทำให้บ้านเย็นลงได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานของแอร์ ประหยัดไฟได้มากกว่าเดิม มาดูกันว่า ฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภทแล้วแบบไหนคุ้มที่สุด?

เลือกวัสดุลดความร้อน ควรวางแผนตั้งแต่ขั้นตอนสร้างบ้าน

จริงๆ แล้ว ถ้าคุณวางแผนเรื่องวัสดุในการช่วยลดความร้อนไว้ตั้งแต่เริ่ม ก็จะช่วยให้บ้านเย็นสบายตั้งแต่วันแรกที่เข้าอยู่เลยทีเดียว การวางแผนเลือกวัสดุที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นจะช่วยประหยัดทั้งเงิน เวลา และไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับปัญหาบ้านร้อนภายหลังครับ

สรุป วัสดุดี เลือกถูก บ้านเย็นสบายแน่นอน

การแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ดีที่สุด คือการเลือกวัสดุที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้น อย่าลืมว่าบ้านคือที่พักผ่อนที่คุณต้องใช้เวลาอยู่ทุกวัน การลงทุนกับวัสดุช่วยลดความร้อนจึงคุ้มค่าในระยะยาว ไม่ใช่แค่ทำให้บ้านเย็นสบาย แต่ยังช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย เราควรนึกถึงปัญหาการใช้ชีวิตภายในบ้านหลักๆเช่น กันเสียงเข้าออก อากาศร้อน เป็นต้น ถ้าเลือกวัสดุที่ตอบโจทย์ตั้งแต่แรก รับรองบ้านเย็นสบายจนไม่อยากออกจากบ้านเลยล่ะครับ!

บ้านชั้นเดียว เสี่ยงปัญหาน้ำท่วม มากกว่าบ้านสองชั้นจริงไหม?

พูดถึงบ้านชั้นเดียวทีไร หลายคนคงจะนึกถึงความสะดวกสบาย ไม่ต้องขึ้น-ลงบันไดให้เหนื่อย แต่พอเข้าหน้าฝนหรือมีน้ำท่วมทีไร เจ้าของบ้านชั้นเดียวกลับกังวลหนักมากกว่าคนอื่นทุกที จนเกิดคำถามขึ้นมาว่า “บ้านชั้นเดียวมันเสี่ยงน้ำท่วมมากกว่าบ้านสองชั้นจริงหรือ?” มาหาคำตอบกันชัดๆ เลยดีกว่า จะได้รู้ว่าควรเตรียมตัวรับมือยังไง ไม่ให้บ้านที่รักของเราต้องจมน้ำ!

ทำไมบ้านชั้นเดียวถึงมีโอกาสเสี่ยงน้ำท่วมมากกว่า?

ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่บ้านชั้นเดียวจะถูกมองว่ามีโอกาสเสี่ยงน้ำท่วมมากกว่าบ้านสองชั้น เพราะตัวบ้านชั้นเดียวมักถูกสร้างให้อยู่ใกล้กับพื้นดินมากกว่า ยิ่งถ้าพื้นที่บ้านอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมง่าย เช่น ใกล้แม่น้ำ ลำคลอง หรือพื้นที่ต่ำ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อปัญหานี้มากเป็นพิเศษ ต่างจากบ้านสองชั้นที่ถึงแม้ชั้นล่างจะน้ำท่วม เจ้าของบ้านยังหนีขึ้นชั้นสองได้สบายๆ

แล้วบ้านชั้นเดียวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมได้ไหม?

จริงๆ แล้ว การสร้างบ้านชั้นเดียวในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมก็ไม่ใช่เรื่องต้องห้ามซะทีเดียว เพียงแต่ต้องมีการวางแผนให้ดี โดยเฉพาะเรื่องการยกระดับพื้นบ้านให้สูงจากระดับน้ำที่เคยท่วมถึง และวางแผนระบบระบายน้ำรอบตัวบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าทำได้แบบนี้ บ้านชั้นเดียวของเราก็ไม่ต้องกลัวน้ำท่วมหนักเหมือนที่คิดแล้วล่ะครับ

แนวทางป้องกันน้ำท่วมสำหรับบ้านชั้นเดียว

ยกระดับพื้นบ้าน

วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ยกระดับพื้นบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดในพื้นที่อย่างน้อย 50-100 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

ออกแบบระบบระบายน้ำให้ดี

ควรออกแบบให้มีรางระบายน้ำรอบบ้าน และติดตั้งปั๊มน้ำหรือบ่อพักน้ำกรณีฉุกเฉิน เพื่อช่วยระบายน้ำให้เร็วที่สุดหากเกิดน้ำท่วมจริง

เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ทนต่อน้ำ

วัสดุที่ทนน้ำ เช่น อิฐมวลเบา กระเบื้อง หรือวัสดุสังเคราะห์บางชนิด สามารถช่วยลดความเสียหายจากน้ำท่วมได้ดี

แล้วบ้านสองชั้นไม่มีปัญหาน้ำท่วมจริงหรือ?

ถึงแม้บ้านสองชั้นจะมีชั้นบนให้หนีน้ำ แต่ถ้าระดับน้ำท่วมสูงจริงๆ ชั้นล่างก็ยังมีความเสียหายได้อยู่ดีนะครับ การป้องกันสำหรับบ้านสองชั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน เพียงแต่บ้านชั้นเดียวต้องเข้มงวดและระวังมากกว่าเท่านั้นเอง

สรุป บ้านชั้นเดียวเสี่ยงน้ำท่วมจริง แต่ก็ป้องกันได้

สุดท้ายแล้ว บ้านชั้นเดียวก็เสี่ยงน้ำท่วมมากกว่าบ้านสองชั้นจริงๆ ครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามสร้างเลย เพียงแต่ต้องวางแผนรับมือให้ดี และศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจสร้าง เพื่อให้บ้านที่คุณรักไม่ต้องกังวลกับน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตกครับ และถ้าคุณยังลังเลว่าควรเลือกบ้านแบบไหน ลองไปดูบทความนี้ก่อน บ้านชั้นเดียว vs บ้านสองชั้น เลือกผิดอาจเสียดายไปตลอดชีวิต! รับรองว่าจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นแน่นอนครับ

สร้างบ้านต้องใช้เงินเท่าไหร่? ค่าใช้จ่ายแฝงที่เจ้าของบ้านมักลืมนึกถึง!

“อุตส่าห์วางแผนไว้หมดแล้ว ทำไมงบถึงยังบานปลายอีก?” หลายคนคงคุ้นเคยกับปัญหานี้ เพราะตอนวางแผนสร้างบ้าน เรามักจะเน้นแค่ค่าใช้จ่ายใหญ่ๆ อย่างค่าก่อสร้าง ค่าวัสดุ ค่าแรงช่าง แต่เชื่อไหมครับ ว่ายังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายรายการที่แฝงตัวเงียบๆ และพร้อมโผล่มาเซอร์ไพรส์เราได้ทุกเมื่อ เช่น บ้านบางหลัง BOQ ที่แนบมาไม่ได้รวมราคาของรั้วบ้านไว้ด้วย ซึ่งถ้าเรานับตามราคากลาง แค่ค่ารั้วรอบบ้านก็อาจมีราคาสูงถึงหลักแสนแล้วครับ วันนี้เรามาดูกันครับว่ามีค่าอะไรบ้างที่เจ้าของบ้านชอบลืม และควรเตรียมรับมือยังไงดี

ค่าตกแต่งภายใน เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า

สร้างบ้านเสร็จแล้ว แต่ภายในบ้านยังว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย เชื่อไหมครับว่าค่าเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชุดครัว หรือของตกแต่งที่ไม่ได้รวมในงบสร้างบ้าน อาจใช้เงินเพิ่มอีกไม่น้อย บางครั้งอาจสูงถึง 10-15% ของงบประมาณบ้านเลยก็ว่าได้ ถ้าไม่เตรียมเผื่อไว้ก่อนล่ะก็ ได้จุกแน่นอน

ค่าใช้จ่ายจัดสวน และตกแต่งภายนอก

สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย แต่พอมองออกไปนอกบ้านกลับเจอสวนโล่งๆ ดินลูกรังแดงๆ ไม่มีต้นไม้สวยๆ ให้ดูสบายตา การจัดสวนหรือปรับภูมิทัศน์ภายนอกบ้านให้ดูดี มักเป็นค่าใช้จ่ายที่หลายคนลืมนึกถึง โดยงบประมาณส่วนนี้ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของสวน ถ้าเราจัดสวนเองได้ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ครับ แต่ถ้าจ้างบริษัทรับจัดสวนราคาอาจพุ่งเป็นหลักแสนได้ แต่ก็แลกมาด้วยความสวยงาม

ค่าต่อเติม ซ่อมแซม หรือปรับเปลี่ยนแบบบ้านระหว่างก่อสร้าง

บางทีแบบบ้านที่วางแผนไว้ตอนแรกอาจจะดูดี แต่เมื่อสร้างจริงๆ กลับไม่ได้ดั่งใจ ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแบบบ้านตอนก่อสร้าง ทำยังไงไม่ให้งบบานปลาย ระหว่างก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายตรงนี้มักไม่ได้ถูกนับรวมไว้แต่แรก ซึ่งอาจทำให้งบบานปลายไปได้อีกไม่น้อยเลยครับ บางบ้านอาจพุ่งไปเป็นหลักล้านก็มี

ค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆ ที่หลายคนมองข้าม

ไม่ว่าจะเป็นค่าขนย้าย ค่าเช่าบ้านระหว่างรอสร้างบ้านเสร็จ ค่าทำความสะอาดครั้งใหญ่ก่อนเข้าอยู่ หรือแม้แต่ค่าน้ำ ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นระหว่างก่อสร้าง หลายคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่รวมๆ แล้วก็หนักเอาเรื่องเลยล่ะครับ

สรุป วางแผนงบประมาณสร้างบ้านให้ดี ป้องกันงบบานปลายตั้งแต่เริ่มต้น

การเตรียมงบสร้างบ้านที่ดี ควรมีเงินสำรองเพิ่มเติมจากงบหลักประมาณนึง เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายแฝงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และที่สำคัญคือการเลือกบริษัทหรือทีมงานมืออาชีพที่เชี่ยวชาญด้าน การสร้างบ้าน โดยเฉพาะ จะช่วยให้คุณควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น และได้บ้านที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด การวางแผนให้รอบคอบตั้งแต่ต้นจะช่วยให้คุณสบายใจ ไม่ต้องมาเครียดกับปัญหางบบานปลายทีหลังครับ ให้ลองคิดว่า สร้างบ้านเสร็จแล้วกระบวนการต่อไปคืออะไร เช่น ซื้อโซฟา ติดตั้งอินเตอร์เน็ตรายเดือน ทีวี ตกแต่งภายใน ของใช้ในครัว แอร์ เป็นต้น

จ้างผู้รับเหมาเอง อาจเจอปัญหาหนัก! เช็กข้อเสียก่อนตัดสินใจสร้างบ้าน

สร้างบ้านทั้งที ใคร ๆ ก็อยากได้บ้านที่สวย แข็งแรง และอยู่ได้แบบไร้ปัญหา แต่รู้หรือไม่ว่า การจ้างผู้รับเหมาเองมีความเสี่ยงสูงกว่าที่คิด ถ้าไม่มีประสบการณ์ในการควบคุมงานก่อสร้าง อาจเจอปัญหา งบประมาณบานปลาย งานล่าช้า หรือบ้านไม่ได้มาตรฐาน

จะดีกว่าไหม ถ้าคุณเลือกใช้บริการรับสร้างบ้าน ที่มีทีมงานมืออาชีพคอยดูแลทุกขั้นตอน? มาดูกันว่าการจ้างผู้รับเหมาเองมีความเสี่ยงอะไรบ้าง และทำไมการใช้บริการรับสร้างบ้านถึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ให้ดูบทความนี้เลยครับ รับสร้างบ้าน

งบบานปลายควบคุมไม่ได้ เพราะไม่มีราคากลางที่ชัดเจน

งบสร้างบ้านที่วางแผนไว้อาจดูเหมือนพอดี แต่พอเริ่มสร้างจริง ค่าใช้จ่ายกลับพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ แบบไม่รู้ตัว ผู้รับเหมาบางรายอาจเสนอราคาถูกในตอนแรกเพื่อให้คุณตกลงจ้าง แต่เมื่อถึงเวลาก่อสร้าง กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ไม่ได้แจ้งไว้ก่อนล่วงหน้า ทำให้ต้องควักเงินเพิ่มตลอด

และอย่าลืมว่า การซื้อวัสดุเองไม่ได้ช่วยให้ถูกลงเสมอไป เพราะร้านค้าขายปลีกอาจให้ราคาสูงกว่าที่บริษัทรับสร้างบ้านได้จากซัพพลายเออร์โดยตรง ดังนั้นหากไม่มีการคำนวณงบประมาณที่แม่นยำ และไม่มีสัญญาที่กำหนดต้นทุนแน่นอนตั้งแต่แรก โอกาสงบบานปลายมีสูงมาก

งานก่อสร้างล่าช้า เพราะไม่มีแผนงานที่เป็นระบบ

การสร้างบ้านไม่ใช่เรื่องแค่จ้างช่างมาก่อสร้างแล้วจะเสร็จทันเวลา ผู้รับเหมาบางรายอาจรับงานหลายโครงการพร้อมกัน ทำให้บ้านของคุณต้องรอคิวไปเรื่อย ๆ ไม่มีตารางเวลาที่แน่นอน บางรายถึงขั้นหายไปเป็นเดือนโดยไม่มีความคืบหน้า

บางครั้งปัญหาก็ไม่ได้มาจากผู้รับเหมาเพียงอย่างเดียว วัสดุที่สั่งมาอาจมาช้ากว่ากำหนด แรงงานอาจขาดช่วง หรือเกิดเหตุสุดวิสัยเช่น ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน แต่ถ้าคุณใช้บริการรับสร้างบ้านที่มีแผนงานชัดเจน ปัญหาพวกนี้จะถูกจัดการได้ดีกว่า

คุณภาพงานไม่เป็นไปตามที่ตกลง เพราะไม่มีทีมวิศวกรควบคุม

หลายคนคิดว่าการจ้างผู้รับเหมาเองจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากไม่มีการควบคุมงานที่ดี บ้านที่สร้างอาจเต็มไปด้วยปัญหาโดยที่เจ้าของบ้านไม่ทันสังเกต ตั้งแต่ โครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ เช่น ระบบไฟฟ้าติดตั้งผิดพลาด ผนังแตกร้าว หรือพื้นบ้านทรุด

  • ผู้รับเหมาบางรายเลือกใช้วัสดุคุณภาพต่ำเพื่อลดต้นทุน ทำให้บ้านเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

  • ไม่มีวิศวกรตรวจสอบงาน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่ต้องเสียเงินแก้ไขภายหลัง

  • งานติดตั้งระบบไฟฟ้า-ประปาทำอย่างเร่งรีบ อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือทำให้ต้องรื้อซ่อมทีหลัง

บริการรับสร้างบ้านจะมีทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอน ทำให้มั่นใจได้ว่าบ้านที่สร้างขึ้นได้มาตรฐาน และไม่มีปัญหาจุกจิกภายหลัง

ผู้รับเหมาอาจทิ้งงาน กลายเป็นปัญหาบ้านไม่เสร็จ

ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการที่บ้านสร้างไปได้ครึ่งทาง แล้วผู้รับเหมาหายตัวไปแบบไร้ร่องรอย เจ้าของบ้านหลายคนเจอปัญหาจ่ายเงินไปแล้ว แต่สุดท้ายต้องมาตามหาผู้รับเหมาที่ปิดบริษัทหนี หรือโยกทีมงานไปทำงานที่อื่นจนบ้านเราค้างเติ่งอยู่แบบนั้น

สาเหตุที่ผู้รับเหมาทิ้งงานมีหลายอย่าง ตั้งแต่การรับงานเกินกำลัง ไม่มีเงินจ่ายค่าแรงลูกน้อง หรือบริหารโครงการผิดพลาด บางครั้งแม้จะมีสัญญาจ้าง แต่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอาจใช้เวลานานและวุ่นวายกว่าที่คิด ข้อสังเกตของ ผู้รับเหมากำลังจะทิ้งงานหรือบริหารงานไม่เป็น มีลักษณะยังไง ไปดูกันครับ

สรุป ทำไมบริการรับสร้างบ้านช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่า?

หากคุณต้องการสร้างบ้านให้เสร็จตามแผน ควบคุมงบประมาณได้ และได้คุณภาพที่ดีที่สุด บริการรับสร้างบ้านเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า เพราะมีทีมงานมืออาชีพที่คอยดูแลทุกขั้นตอน

บ้านคือการลงทุนครั้งใหญ่ อย่าเสี่ยงให้บ้านในฝันกลายเป็นปัญหากวนใจในอนาคต

ปัญหาที่เจ้าของบ้านมักเจอหลังสร้างบ้านเสร็จ มีอะไรบ้าง แก้ยังไง?

สร้างบ้านเสร็จแล้ว เข้าอยู่ได้เลยจริงเหรอ?

หลายคนคิดว่าหลังจากบ้านสร้างเสร็จ ทุกอย่างต้องสมบูรณ์แบบ พร้อมเข้าอยู่ทันที แต่ความจริงคือ บ้านใหม่ก็อาจมีปัญหาได้! ไม่ว่าจะเป็น รอยร้าวบนผนัง น้ำรั่วจากหลังคา ไฟตกบ่อย หรือแม้แต่บ้านทรุด! ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะบ้านเก่า แต่มักเป็นผลมาจากขั้นตอนก่อสร้างที่มีข้อผิดพลาด หรือผู้รับเหมาทำงานไม่ได้มาตรฐาน

และข่าวร้ายก็คือ ถ้าคุณไม่ตรวจสอบให้ดีตั้งแต่ต้น คุณอาจต้องจ่ายเงินซ่อมเอง!
ดังนั้น ก่อนที่บ้านในฝันจะกลายเป็นฝันร้าย มาดูกันว่าปัญหาหลังสร้างบ้านเสร็จที่มักเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และต้องแก้ไขยังไงให้จบแบบไม่ต้องปวดหัว!

อยากให้บ้านของคุณไม่มีปัญหาตามมา? อ่านวิธีการรับสร้างบ้านที่ รับสร้างบ้าน เพื่อจะได้รู้ทันผู้รับเหมาและแต่ละขั้นตอนครับว่า มีขั้นตอนไหนบ้างที่เราต้องเตรียมหรือระวังไว้

รอยร้าวตามผนัง เกิดจากอะไร? อันตรายแค่ไหน?

รอยร้าวเป็นหนึ่งในปัญหาที่เจ้าของบ้านเจอเยอะที่สุด แต่อย่าเพิ่งตกใจ เพราะ ไม่ใช่รอยร้าวทุกแบบจะอันตราย

รอยร้าวเส้นเล็ก ๆ บนผนัง เป็นเรื่องปกติของงานก่อสร้าง เนื่องจากปูนขยายตัวและหดตัวตามอุณหภูมิ แต่ถ้าเป็น รอยร้าวขนาดใหญ่ตามแนวเสา คาน หรือพื้นบ้าน นี่คือสัญญาณอันตราย! บ้านอาจมีปัญหาเรื่องโครงสร้าง ควรรีบให้วิศวกรเข้ามาตรวจสอบ

ถ้าพบรอยร้าวที่ลึกจนสามารถสอดกระดาษเข้าไปได้ หรือมีความกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร นี่คือปัญหาที่ต้องแก้ไขทันที ไม่งั้นบ้านอาจแตกร้าวหนักขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นต้องซ่อมแซมใหญ่ มาดูกันครับว่า ผนังบ้านร้าว เกิดจากอะไร อันตรายไหม และบ้านจะถล่มหรือเปล่า?

น้ำรั่วซึมจากหลังคา-ผนัง ต้องแก้ยังไง?

บ้านใหม่แต่เจอปัญหาน้ำรั่วซึมจากหลังคาหรือผนัง เป็นสัญญาณว่าผู้รับเหมาทำงานไม่ละเอียดพอ หรือใช้วัสดุคุณภาพต่ำ ถ้าหลังคารั่ว จุดแรกที่ต้องตรวจสอบคือรอยต่อระหว่างแผ่นหลังคา ว่ามีการติดตั้งอย่างแน่นหนาหรือไม่ ถ้าพบรอยรั่ว ควรใช้ซิลิโคนกันน้ำหรือเคลือบสารกันซึม

แต่ถ้าปัญหาคือ น้ำซึมเข้าผนังบ้าน แสดงว่าอาจเกิดจากการฉาบปูนไม่ดี หรือทาสีกันซึมไม่ทั่วถึง วิธีแก้คือต้องเคลือบน้ำยากันซึมใหม่ หรือถ้ารอยรั่วหนักมาก อาจต้องรื้อและฉาบปูนใหม่ทั้งหมด

ระบบไฟฟ้ามีปัญหา ใช้งานแล้วไฟตก ไฟดับบ่อย?

ไฟตก หรือเบรกเกอร์ตัดบ่อย ๆ ในบ้านใหม่ เป็นอีกปัญหาที่เจ้าของบ้านเจอประจำ ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ขนาดสายไฟไม่รองรับโหลด หรือหม้อแปลงไฟฟ้าของพื้นที่ไม่เพียงพอ

ถ้าไฟดับทุกครั้งที่เปิดแอร์หรือไมโครเวฟ แสดงว่า วงจรไฟฟ้าอาจถูกออกแบบให้รองรับโหลดต่ำเกินไป วิธีแก้คือ ต้องให้ช่างไฟเข้ามาตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน

บ้านทรุดเร็วผิดปกติ สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

บ้านใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จไม่ควรมีการทรุดตัวมากผิดปกติ ถ้าพื้นบ้านเริ่มแยกจากผนัง หรือมีรอยร้าวขนาดใหญ่ตามพื้น แสดงว่าฐานรากอาจมีปัญหา สาเหตุหลักมักมาจาก เสาเข็มสั้นเกินไป หรือตอกเสาเข็มไม่แน่นหนา ทำให้ดินเกิดการยุบตัวจนบ้านทรุดตาม

ถ้าพบว่าบ้านทรุดเร็วผิดปกติ ต้องให้วิศวกรเข้ามาประเมินด่วน เพราะอาจต้องแก้ไขด้วยการตอกเสาเข็มเพิ่ม หรือฉีดโฟมอัดดินเพื่อช่วยพยุงโครงสร้างบ้าน

รับประกันบ้านจากผู้รับเหมา เช็กให้ดี ไม่งั้นซ่อมเองแน่นอน!

บ้านใหม่ส่วนใหญ่มักมี การรับประกันจากผู้รับเหมา แต่ปัญหาคือเจ้าของบ้านหลายคนไม่ได้เช็กเงื่อนไขให้ดี ทำให้พอเจอปัญหาทีหลัง กลายเป็นต้องซ่อมเอง

สิ่งที่ควรเช็กก่อนเซ็นรับบ้าน:

  • รับประกันกี่ปี? ส่วนใหญ่รับประกันโครงสร้าง 5-10 ปี แต่งานไฟฟ้า-ประปา อาจรับประกันแค่ 1-2 ปี

  • ครอบคลุมอะไรบ้าง? ตรวจสอบว่างานที่มีปัญหาอยู่ในขอบเขตการรับประกันหรือไม่

  • แจ้งเคลมได้ที่ไหน? บางบริษัทต้องแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่งั้นหมดสิทธิ์เคลม

ก่อนจะรับบ้าน ควรอ่านรายละเอียดการรับประกันให้ครบ และแจ้งปัญหาทุกอย่างก่อนหมดระยะเวลาประกัน

สรุป ปัญหาหลังสร้างบ้าน อย่ารอจนแก้ไขไม่ได้!

บ้านสร้างเสร็จแล้ว ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างจะสมบูรณ์แบบ 100% เจ้าของบ้านต้องตรวจสอบให้ครบถ้วน อย่ารอจนปัญหาบานปลาย แล้วต้องมานั่งแก้ทีหลัง

หากเจอปัญหา ควรรีบติดต่อช่างหรือวิศวกรเข้ามาตรวจสอบทันที เพื่อแก้ไขก่อนที่ทุกอย่างจะยิ่งแย่กว่าเดิม

ผนัง Precast ดีไหม? รู้ข้อดี-ข้อควรระวัง และประเภทที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

เคยเห็นไซต์ก่อสร้างบ้าน คอนโด หรืออาคารสูง แล้วมีแผ่นปูนขนาดใหญ่ถูกยกมาวางเรียงต่อกันเหมือนจิ๊กซอว์มั้ยครับ? นั่นแหละคือ “ผนัง Precast” หรือคอนกรีตสำเร็จรูป วัสดุยอดนิยมที่ช่วยให้ก่อสร้างเร็ว แข็งแรง และแม่นยำขึ้นอย่างมาก

แต่รู้ไหมครับว่าผนัง Precast ไม่ได้มีแค่แบบเดียว และถ้าเลือกใช้ไม่ถูกกับโครงสร้างบ้านหรืออาคาร อาจนำไปสู่ปัญหาตามมาทีหลังได้เลย วันนี้ผมเลยอยากพามาทำความรู้จักแบบละเอียด ว่าผนัง Precast มีกี่ประเภท ใช้ต่างกันยังไง และควรระวังเรื่องอะไรบ้างก่อนตัดสินใจครับ

และถ้าคุณกำลังวางแผนก่อสร้างบ้านหรืออาคารโดยใช้ระบบ Precast อย่าลืมว่าการมีทีมงานรับเหมาก่อสร้างที่เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างตั้งแต่ต้นจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้มาก ลองดูรายละเอียดเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างจนถึงงานตกแต่งได้ที่หน้า

ผนัง Precast คืออะไร?

ผนัง พรีคาสท์ หรือ Precast Concrete Wall คือแผ่นคอนกรีตที่ผลิตสำเร็จจากโรงงาน โดยมีการหล่อในแม่พิมพ์ พร้อมใส่เหล็กเสริมไว้ภายในตามตำแหน่งที่กำหนด แล้วนำมาประกอบเข้ากับโครงสร้างที่หน้างาน

ข้อดีของวิธีนี้คือ ควบคุมคุณภาพได้ดี เพราะผลิตในสภาพแวดล้อมที่มีมาตรฐาน ลดการใช้แรงงาน onsite และลดเวลาในการก่อสร้างได้มาก เพราะไม่ต้องก่ออิฐ ฉาบปูนหน้างานแบบเดิม

ผนัง Precast มีกี่ประเภท?

โดยทั่วไป ผนัง Precast ที่ใช้ในงานก่อสร้างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

ผนัง Precast แบบรับแรง (Load-Bearing Wall)

ผนังประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอาคารโดยตรง มีหน้าที่รับน้ำหนักจากชั้นบนหรือจากโครงสร้างด้านบน เช่น หลังคา หรือพื้นชั้นถัดไป ใช้เหล็กเสริมขนาดใหญ่ภายใน และต้องออกแบบตามหลักวิศวกรรมที่แม่นยำ

วัสดุที่ใช้จะเป็นคอนกรีตหล่อเต็มแผ่น เสริมเหล็กเส้นขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถรองรับแรงได้สูง มักมีความหนามากกว่าผนังทั่วไป และต้องใช้เครนในการยกติดตั้งเข้ากับโครงสร้างที่เตรียมไว้ มักใช้ในผนังภายนอกอาคาร แกนกลางของอาคารสูง หรือผนังที่ต้องการความแข็งแรงสูงเป็นพิเศษ

ผนัง Precast แบบไม่รับแรง (Non-Load Bearing Wall)

ผนังประเภทนี้จะไม่ได้รับแรงจากโครงสร้างด้านบน ใช้เพียงแค่แบ่งพื้นที่ เช่น ผนังกั้นห้อง ผนังระหว่างยูนิตในคอนโด หรือผนังภายในบ้าน

วัสดุจะเบากว่า มักหล่อให้บางลงกว่าผนังแบบรับแรง หรือใช้แบบกลวงตรงกลางเพื่อลดน้ำหนัก เหล็กเสริมภายในมีขนาดเล็กกว่า และไม่ได้มีบทบาทต่อโครงสร้างหลักของอาคารโดยตรง

เหมาะสำหรับงานตกแต่งภายในหรืออาคารที่ต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง และไม่ต้องรับแรงโครงสร้างหรือที่ภาษาเฉพาะชอบเรียกกันว่า ผนังคอนกรีตมวลเบา หรืออีกชื่อที่เรามักเจอบ่อยคือ Texcawall

ข้อดีของผนัง Precast

  • ลดเวลาการก่อสร้าง เพราะไม่ต้องก่ออิฐ ฉาบปูนหน้างาน

  • ควบคุมคุณภาพได้ดี เพราะผลิตจากโรงงาน

  • ผิวงานเรียบเนียน ลดขั้นตอนการฉาบ

  • มีความแข็งแรงมากกว่าผนังเบาทั่วไป

  • ใช้แรงงาน onsite น้อยลง เพราะติดตั้งด้วยเครื่องจักร

ข้อควรระวังของผนัง Precast

  • ต้องวางแผนและออกแบบตั้งแต่ต้น เพราะผลิตจากโรงงานแล้วไม่สามารถปรับหน้างานได้ง่าย

  • ขนาดต้องเป๊ะ เพราะต้องสั่งโรงงานผลิต

  • การเจาะผนังเพื่อแขวนของ ต้องใช้พุกเฉพาะของผนัง Precast

  • น้ำหนักมาก ต้องใช้เครนติดตั้งและมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนย้าย

  • หากติดตั้งไม่ดี อาจมีปัญหาน้ำรั่วตามรอยต่อระหว่างแผ่น

สรุป ผนัง Precast เหมาะกับงานแบบไหน ?

ถ้าคุณกำลังจะสร้างบ้าน อาคารพาณิชย์ หรือโครงการที่ต้องการความเร็วและคุณภาพที่สม่ำเสมอ ผนัง Precast ถือว่าเหมาะมาก เพราะช่วยให้ก่อสร้างรวดเร็ว และควบคุมต้นทุนได้ดี

แต่ถ้าคุณต้องการปรับแบบก่อสร้างระหว่างทาง หรือต้องการอิสระในการออกแบบที่ไม่ตายตัว ผนังชนิดนี้อาจไม่เหมาะนัก เพราะเป็นระบบสำเร็จรูปที่ปรับเปลี่ยนได้น้อย และหากผิดพลาดอาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ ผนัง Precast ใช้เฉพาะอาคารใหญ่จริงไหม? เหมาะกับโครงการแบบไหนกันแน่